Saturday, April 19, 2014

กลโกงของสารทำความเย็น R400 Series

ไปเจอบทความที่น่าสนใจจาก http://www.blueplanet.co.th/workshop-883.html
เลยขอคัดลอกมาเก็บไว้  เครดิตให้กับ web ข้างบนครับ

วันนี้สารทำความเย็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะเป็นสารทำความเย็น Fake รุ่นต่อไป มันยังคงหลักการเดิม ๆ เหมือนการนำเอา R12 ไปใช้แทน R134a ตามร้านซ่อมแอร์รถยนต์ที่พบเห็นกันดาษดื่น วันนี้ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าสารทำความเย็น R407c, R404a , R410a, R507 และกลุ่มสาร R400 และ R500 Series อื่น ๆ มีความนิยมเพิ่มขึ้นตามลำดับ เรียกว่าตอนนี้ใช้กันทั่วทุกระแหง R404a และ R507 เข้าแทนที่ R502 อย่างเต็มรูปแบบ ในขณะที่ไม่ค่อยมีใครพูดถึง R408a หรือ R402a เพราะไม่อยากเวียนหัวต้องซื้อน้ำยาเบอร์แปลก ๆ R407c และ R417a เข้ายึดครองส่วนแบ่งบางส่วนของ R22 ไว้ได้เป็นที่เรียบร้อย ตามโรงงานต่าง ๆ ที่เข้า ISO 14000 ต้องใช้แน่ ๆ R410a ก็ครองส่วนแบ่งอีกหนึ่งตลาดสำหรับเครื่องปรับอากาศใหม่ซึ่งระบุเลยว่าคือ R410a systems ซึ่งไม่มีอะไรเข้าไปแทนมันได้ในขณะนี้นอกจากตัวมันเอง เมื่อผลกำไรงาม ราคาจำหน่ายสูง ก็ย่อมมีผู้คิดค้นวิธีหรือช่องทางหาเงินจากพวกเราแบบง่าย ๆ เลย อันนี้พูดไว้ก่อนเพราะมันเกิดขึ้นแน่ ๆ เพราะถ้าท่านเผลอ ท่านจะได้พบกับ R22 ใน body ของ R407c, R404a, R507 เหล่านี้เป็นต้น เขาทำอย่างไรน่ะหรือ เขาก็บรรจุ R22 เข้าไปแทนในถังน้ำยาตัวนั้น ๆ เลยเช่น หน้าร้านท่อสีน้ำตาล brown sugar นั่นล่ะ R407c แต่ด้วยความที่พ่อค้าต้องการกำไรมาก (ขึ้นอยู่กับว่าเป็นพ่อค้าส่งหรือพ่อค้าปลีก) และเห็นว่าระบบเครื่องปรับอากาศและเครื่องทำความเย็นรุ่นใหม่นั้น สารหล่อลื่นอย่าง POE เข้ากันได้ดีเหลือเกินทั้ง HFCs และ HCFCs อย่ากระนั้นเลย เติม R22 ลงไปในถังน้ำยาที่คุณต้องการให้เป็น อยากให้เป็นเช่นอยากให้เป็น R407c ใช่ไหมก็กระป๋องสเปรย์พ่นสีน้ำตาลกาแฟ อยากให้เป็น R404a ใช่ไหมก็สีส้มนั่นล่ะครับ อยากให้เป็น R507 ก็สีเขียวน้ำทะเล อยากให้เป็น R410a ก็สีชมพู เป็นต้น (อันหลังนี้หลอกยากหน่อยครับ) ราคาไม่ต้องพูดถึงสาร HFC ในระบบเครื่องปรับอากาศและเครืองทำความเย็น ตอนนี้แพงกว่า HCFC ถึง 400% ลดราคาตัดหน้าคู่แข่งไป 100-200% ยังกำไรเป็น 100% วิธีการตรวจสอบจะทำอย่างไร? วัด PRESSURE ครับ สารทำความเย็นแต่ละชนิดมี Vapor Pressure ที่ต่างกัน ตามไปดูกันครับ R22 ที่อุณหภูมิ 20C (68F) Vapor Pressure = 117.4 psig ที่อุณหภูมิ 30C (86F) Vapor Pressure = 143.6 psig ที่อุณหภูมิ 40C (104F) Vapor Pressure = 207.4 psig R407c ที่อุณหภูมิ 20C (68F) Vapor Pressure = 133.8 psig (bubble) ที่อุณหภูมิ 30C (86F) Vapor Pressure = 179.8 psig (bubble) ที่อุณหภูมิ 40C (104F) Vapor Pressure = 235.6 psig (bubble) R404a ที่อุณหภูมิ 20C (68F) Vapor Pressure = 144.7 psig (bubble) ที่อุณหภูมิ 30C (86F) Vapor Pressure = 192.7 psig (bubble) ที่อุณหภูมิ 40C (104F) Vapor Pressure = 250.8 psig (bubble) จะเห็นได้ว่าน้ำยาทั้ง 3 ชนิดมี จุดเดือดแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง ดังนั้นค่าของ Vapor Pressure ก็ย่อมต่างกันไปด้วยเช่นเดียวกัน คุณวัดแรงดันไอครั้งต่อไป เมื่อซื้อสินค้าคุณก็แน่ใจได้ว่ามันคือคนละตัวกัน ส่วนสารทำความเย็นที่เป็นชนิดเดียวกันแต่มีอุณหภูมิสูงกว่า 10 - 20 psig ก็คือสารทำความเย็นที่มีความชื้นปนเปื้อนนั่นเอง การวัดแรงดันไอ Vapor Pressure Test จึงเป็นอะไรที่สำคัญมาก ๆ มันเช็คน้ำยาแอร์ปลอมได้ มันทำให้คุณล่วงรู้ถึง Composition Shift ได้ (ความเบี่ยงเบนของส่วนประกอบอันเนื่องมาจากการระเหยของสารประกอบที่ไม่เท่า กัน) มันทำให้คุณคำนวณหาและล่วงรู้ได้ถึงส่วนประกอบของตัวมันเองว่ามันใช้สารทำ ความเย็นซึ่งประกอบขึ้นด้วยสารต ั้งต้นที่ถูกต้องได้อีกด้วย คุณเชื่อหรือไม่

ศึกชิงบัลลังค์ Air Conditioning Refrigerant ระหว่าง R32 กับ R410a

ได้อ่านข้อมูลน้ำยาแอร์ตัวใหม่ R32 ที่น่าสนใจมากจากจาก web http://www.blueplanet.co.th/workshop-1033.html  เลยต้องขอคัดลอกไว้ที่นี่ เผื่อเนื้อหาที่ต้นฉบับจะหายไป  ให้ความรู้ที่น่าสนใจ

29/05/2013

เป็น ISSUE ใหญ่ครับเมื่อ Japanese air-conditioning OEMs เริ่มให้ความสนใจกับ HFC32 เพื่อใช้ทดแทน HFC410a เบื้องต้นเราได้ยินว่าจะมีการใช้ R32 ทดแทน R410a นั้นยอมรับว่าค่อนข้าง
แปลกใจทีเดียวเพราะ R32 นั้นจัดอยู่ในกลุ่ม A2 ติดไฟได้ง่ายกว่าและมีแรงดันไอที่สูงกว่า R410a ที่ ambient ราว 40 psig สิ่งที่น่าสนใจสำหรับ R32 ก็คือมันเป็น Single Substance ครับด้วยความสามารถ
ในการติดไฟของมันนั้นมีมากกว่า R22 ในขณะที่ R290 นั้นอยู่ในกลุ่ม A3 ที่ติดไฟได้ง่ายที่สุดเมื่อ R22, R410a คือกลุ่ม A1

การที่ R32 มี HGWP ต่ำกว่า R410a เป็นเรื่องที่ดีมาก ๆ ในการช่วยลดภาวะเรือนกระจกของเรา แต่สิ่งที่น่าห่วงกว่าก็ยังมีนั่นหมายถึง "การลุกติดไฟ" หากช่างแอร์หรือผู้ให้บริการขาดความระมัดระวังก็อาจ
มีอันตรายได้โดยต้องไม่ลืมว่า "มันสามารถติดไฟได้ง่ายกว่า R22" คือเขาคงพยายามทดลอง R290 มาก่อนแต่เนื่องจากมันติดไฟง่ายมากจึงหันมาให้การทดลองกับ R32 กระมัง ตรงนี้คือสิ่งที่ผมสังเกตเห็น"
สิ่งที่น่ากลัวในลำดับต่อมาก็คือเรื่องของ "แรงดันไอที่สูงมาก" ครับ ผมยกตัวอย่างให้เห็นง่าย ๆ แบบนี้นะครับ

ที่อุณหภูมิห้อง
R22 ประมาณ 150 psig
R410a ประมาณ 250 psig
R32 ประมาณ 290 psig

การบ้านของเพื่อนช่างอยู่ตรงนี้นะครับ ..
1.มันลุกติดไฟได้ง่ายดังนั้น "เ่ลี่ยงการเชื่อมท่อ" ในขณะที่ระบบมีสารทำความเย็นเหล่านี้คงค้างอยู่
2.เลี่ยงการ "สูบบุหรี่" ทุกครั้งที่คุณปล่อยน้ำยาเพื่อ Vacuum
3.ห้าม!! ใช้ถัง R22 นำมาบรรจุ R32 โดยเด็ดขาด ถ้าจะนำมาบรรจุให้ใส่เพียง 40% ของฉลากเท่านั้นเพื่อความปลอดภัย อาทิคุณมีถัง 13.6 กก.แล้วคุณจะนำมาเติม R32 คุณจะบรรจุได้เพียง
ไม่เกิน 5.5 กก.เท่านั้น ถ้าคุณบรรจุเกินคือเติมเต็มไปเลย 13.6 กก. (ซึ่งอาจจะบังเอิญเติมเข้าไปได้) แล้วนำไปตากแดดหรืออยู่ในที่ร้อนจัดมันก็คือ "ลูกระเบิด" ดีดีนี่เองนะครับ
4.อย่าประหยัดใช้ท่อบางเด็ดขาด ท่อของ R410a ผมก็ยังไม่การันตีว่าจะใช้กับ R32 ได้ ถ้าคิดว่า R410a แรงดันสูงแล้วล่ะก็ให้บวกไปอีก 20% ในใจครับนั่นล่ะแรงดัน R32

สิ่งที่ห่วงมาก ๆ นับจากทศวรรษนี้ไป ..
1.ถัง R22 มีเป็นจำนวนมากซึ่งความหนาไม่พอครับ
2.ช่างแอร์จำนวนมากจะไม่ยอมลงทุนซื้อถังใหม่แต่จะเอาัถังนั้นล่ะไปเติม R32 หรือ R410a และโอกาสพลาดพลั้งมีสูง
3.วาล์วที่ใช้กันอยู่อาจไม่สามารถรับแรงดันของ R32 ได้หากมีการขยายตัวของแรงดันอันเนื่องจากการถูกกระตุ้นด้วยความร้อนสูง โดยเฉพาะในหน้าร้อน
4.จะมีถังน้ำยาแอร์ "ระเบิด" กันอีกเยอะถ้ามีผู้ประกอบการหรือพนักงานคนใดมักง่ายในย่าน Medium Temp เขามี Vapor Pressure สูงที่สุดในกลุ่มครับ
5.ถ้าจะเอาไว้หลังรถต้องเป็นรถกระบะที่มีการระบายอากาศถ่ายเทได้สะดวก ห้ามวางไว้ในแค๊ปกระบะที่ไม่มีเครื่องปรับอากาศและปิดหน้าต่าง อันตรายมาก ๆ หากจอดตากแดดทิ้งไว้นาน ๆ
6.R22 กับ R32 เขียนคล้าย ๆ กันช่างแอร์บางคนอาจทึกทักเอาว่า "มันก็คงเหมือน ๆ กับ R22 แค่เพิ่มเลข 3 มาแทนเลข 2 (ฮา)"

ข้อดีมันก็มีอยู่ครับ
HGWP ต่ำกว่า R410a
Handling ง่ายกว่าเพราะเป็นสารประกอบจุดเดือดเดียวคล้าย ๆ R22

และนี่เป็นเรื่องราวที่ผมนำมาฝากให้อ่านกันครับ สารทำความเย็นรุ่นใหม่ ๆ ขณะนี้ทยอยตบเท้าเข้าตลาดกันเป็นแถวหากขาดความรู้ความเข้าใจ "อัีนตราย" ก็อยู่ใกล้่แค่เอื้อมหากเรามีการ "เรียนรู้"
อุบัติเหตุก็จะลดลง เห็นแล้วก็อดห่วงไม่ได้ครับขนาด R22 นี่ไม่ติดไฟวางไว้ผิดที่ผิดทางยังเคยระเบิดตูมตามกันมามากแล้ว ก็คงฝากไว้ให้พิจารณากันนะครับ ส่วนใครต้องการข้อมูลของ R32, R410a
เขียนจดหมายมาคุยกับเราได้ที่ blueplanet2002@gmail.com ก็ได้เราพร้อมตอบคำถามที่ท่านต้องการรู้หรือเข้าเยี่ยมชมใน www.blueplanet.co.th ในหน้าต่าง Work Shop ได้ครับ

ฤาศึกชิงบัลลังค์ Air Conditioning Refrigerant ยุคหน้าระหว่าง R32 กับ R410a จะยังไม่จบลงง่าย ๆ เสียแล้วกระมัง .. คงอีกไม่นานแล้ว R22 ที่รับใช้ประชากรชาวโลกมานานก็ต้องถึงเวลาก้าวลง
จากบัลลังค์นี้เสียที