Sunday, August 2, 2009

ช่างแอร์ไดกิ้นเติมน้ำยาอย่างไร

พอดีแอร์ที่บ้านน้ำยารั่ว ต้องรื้อท่อแอร์มาแก้ไขหมด ช่างจากศูนย์ไดกิ้นมาทำเอง แก้ไขท่อที่ข้อต่อไม่ดี แล้วทำสูญญากาศระบบ(vacuum)30 นาที ปิดวาล์วทิ้งไว้ 2-3 นาทีเพื่อดูให้แน่ใจว่าไม่มีอากาศรั่วเข้าไปในระบบ จากนั้นเอาตาชั่งดิจิตอลมาตั้ง วางถังน้ำยาลงบนตาชั่ง ตั้งให้เป็น 0 แล้วปล่อยน้ำยาเข้าในระบบแอร์จนวัดได้ 1.2 กิโลตามสเปคของแอร์รุ่นนี้ แล้วเปิดแอร์ไว้ให้เดินเครื่องเต็มที่ 30นาที ตั้งอุณหภูมิไว้ที่ 20 องศาเลย พอครบ 30 นาทีก็เอาเครื่องวัดอุณหภูมิมาวัดที่ท่อดูดน้ำยากลับเข้าคอมเพรสเซอร์ว่าได้กี่องศา ถ้าได้เกิน 10 องศาจะถือว่าน้ำยายังไม่พอ ต้องค่อยๆปล่อยน้ำยาเพิ่มเข้าไปช้าๆจนกว่าจะวัดได้สัก 8 องศาจึงจะถือว่าพอดี แอร์จะเย็นเจี๊ยบเลย ในระหว่างนี้ก็วัดกระแสไฟที่คอมเพรสเซอร์แอร์ใช้ด้วยว่าจะต้องไม่เกินค่าที่กำหนด ซึ่งการชั่งน้ำหนักน้ำยาทำให้ไม่มีปัญหาน้ำยาเกินอยู่แล้ว


สำหรับการเติมน้ำยาเพิ่มก็เช่นเดียวกัน เปิดแอร์ไว้ 30นาที ตั้งที่ 20 องศาแล้ววัดอุณหภูมิที่ท่อดูด ถ้าเกิน 10 องศาและแรงดันน้ำยาที่วัดได้ยังต่ำอยู่ กระแสไฟที่ใช้ก็ยังไม่เกินพิกัด ก็จะเพิ่มน้ำยาเข้าไปอีกช้าๆจนกว่าจะวัดอุณหภูมิท่อดูดได้ต่ำกว่า 10 องศา แรงดันน้ำยาอยู่ในเกณฑ์ปกติและกระแสไม่เกิน

ช่างแอร์ทั่วๆไปที่วัดแค่แรงดันน้ำยาอย่างเดียว่าต้องได้แถวๆ 70 psig ถ้าต่ำกว่านี้ถือว่าน้ำยาขาดจะต้องเติมเพิ่มทันที่โดยไม่ได้ดูปัจจัยอื่นๆประกอป อย่างนี้ผมว่าช่างมั่วแล้ว ช่างมักจะชอบให้น้ำยาขาดเพราะจะได้คิดเงินค่าเติมน้ำยาได้ ค่าล้างแอร์คิดแค่ 400 แต่ไปฟันค่าเติมน้ำยาซะ 1000 บาท งานนี้กำไรเละ

ค่าน้ำยาแอร์ R22 แบบทั่วๆไปเกรดต่ำตกกิโลละ 70-80 บาทในกทม ถ้าแบบของเกรดสูงๆก็กิโลละ 130-150 บาทแต่พวกเกรดสูงนี้ขายกันเป็นถัง ไม่ได้แบ่งขายเป็นกิโล แอร์ขนาด 12000 btu ถ้าปล่อยน้ำยาออกจนหมดแล้วเติมใหม่จนเต็มจะใช้น้ำยาไม่เกิน 1.2 กิโลกรัม ในกรณีที่น้ำยาแอร์ขาดเล็กน้อย การเติมเพิ่มมักจะใช้ไม่เกิน 1 ขีด คิดเป็นค่าน้ำยาจริงๆก็ 20 บาทมั้ง แต่ฟันกันซะ 600-1000 บาท ก็ฝากให้ระวังช่างแอร์บางคนทีใช้ข้ออ้างในการเติมน้ำยามาหาเงินเพิ่ม